Thursday, April 9, 2009

ถิ่นกำเนิดชนชาติไต หรือไท The Cradle of the Tai Race

ข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไต หรือคนไทนั้น ส่วนมาก มาจากชาวตะวันตก ซึ่งเป็นผู้สำรวจค้นคว้าด้วยตนเอง เช่นเดินทางไปสำรวจ สอบสวนค้นคว้าด้านภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานเขียน (Paper)หรือ ราย งานการสำรวจ (report) หรือบางวิธีก็สืบค้นนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานค้นคว้าของชาวต่าง ประเทศที่เรียบเรียงไว้นั้นเป็นที่อ้างอิง ดังนั้นวิธีการดังกล่าวรวมทั้งการศึกษาค้นคว้าของคนไทยได้ก่อให้เกิดความหลากหลายในทัศนะเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไตหรือคนไท ดังนี้
1.กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไต หรือไท อยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ประเทศจีน
เตเรียน เดอ ลาคูเปอรี (Albert Étienne Jean Baptiste Terrien De Lacouperie) ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ ประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน เป็นเจ้าของความคิดนี้ ผลงานของท่านชื่อ The Cradle of the Shan Race (ถิ่นกำเนิดชนชาติไต หรือ ซาน) ตีพิมพ์ พ.ศ.2428 อาศัยหลักฐานจีนโดยพิจารณาความคล้ายคลึงกันทางภาษาของผู้คนในจีนและเอเชียตะ วันออกเฉียงใต้ แล้วสรุปว่า คนเชื้อชาติไตตั้งถิ่นฐานในดินแดนจีนก่อนจีน คือเมื่อ 2208 ปีก่อนคริสตกาล ดังปรากฏในรายงานการสำรวจภูมิประเทศจีน ถิ่นที่อยู่ของคนไทยที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนในปัจุบัน
งานของลาคูเปอรี ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานเขียนของนักวิชาการไทย เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประภาศิริ เสฐียรโกเศศ พระยาอนุมานราชธน หลวงวิจิตรวาทการ และศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์
2. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไตอยู่แถบเทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือของประเทศจีน
เจ้าของความคิด คือ ผู้เผยแพร่ศาสนาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (Dr. William Clifton Dodd) ได้เดินทางไปสำรวจความเป็นอยู่ของชนชาติต่าง ๆ ในดินแดนใกล้เคียงพร้อมทั้งเผยแพร่ศาสนาด้วย ท่านเป็นนักวิชาการตะวันตกคนแรกคนหนึ่งที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชนชาติไต (one of the first ethnologists of the Tai race) และสะสมข้อมูลเกี่ยวกับ ด้านภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของชนชาติไต โดยเริ่มจากที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา ยูนนาน จนถึง ฝั่งทะเลกวางตุ้ง ผลจากการสำรวจปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Tai Race : The Elder Brother of the Chinese (ชนชาติไตเป็นชนชาติที่เก่าแก่กว่าจีน) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ.2452 งานเขียนนี้สรุปว่าไต หรือ ไท สืบเชื้อสายจากมองโกล (Mongoloid race) และเป็นชาติเก่าแก่กว่าจีนและฮิบรู งานเขียนของ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ได้รับความสนใจทั้ง ชาวไทยและต่างประเทศ นักวิชาการไทยคนสำคัญที่สืบทอดความคิดของหมอดอดด์ คือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้เขียนงานเขียนชื่อ “หลักไทย” เป็นหนังสือแต่งทางประวัติศาสตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าฯ กับประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา ใน พ.ศ.2471 ในหนังสือ หลักไทย สรุปว่าแหล่งกำเนิดของคนไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต (แหล่งกำเนิดของมองโกลด้วย) หลักสูตรไทยได้ใช้เป็นตำราเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับน้อยมาก
3.กลุ่มที่เชื่อว่าไทมีถิ่นกำเนิดกระจัด กระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีนและทางเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ตลอดจนแคว้นอัสสัมของอินเดีย
นักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อ โคลกูฮุน (Archibal R. Colguhon) เป็นผู้ริเริ่มความเชื่อนี้ เขาได้เดินทางจากกวางตุ้งตลอดถึงมัณฑเลย์ในพม่าและได้เขียนหนังสือชื่อ Chrysi เล่าเรื่องการเดินทางสำรวจดินแดนดังกล่าว และเขียนรายงานไว้ว่าพบคนไทในแถบนี้ งานเขียนนี้ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2428 ผู้เขียนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายออกไป
นอกจากนี้มีงานค้นคว้าประเภทอาศัยการตีความหลักฐานจีนอีก เช่น งานของ E.H. Parker ปาร์คเกอร์ กงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ เขียนบทความเรื่องน่านเจ้า พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2437 โดยอาศัยตำนานจีน บทความนี้พูดถึงอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทยเฉพาะราชวงศ์สินุโลและ คนไทยเหล่านี้ถูกคนจีนกดดันถึงอพยพลงมาทางใต้ งานของเขียนปาร์คเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากทั้งนักวิชาการตะวันตกและจีน (ศาสตราจารย์ติง ศาสตราจารย์ โชนิน ศาสตราจารย์ชุนแชง) และญี่ปุ่น (โยชิโร ชิราโทริ)
งานค้นคว้าที่เดิ่นอีกคืองานของ วิลเลียม เคร์ดเนอร์ (Willian Credner) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับยูนนานโดยสำรวจภูมิประเทศและเผ่าพันธุ์ที่ตกค้างในยูนนาน สรุปว่าถิ่นเดิมของชนเผ่าไทควรอาศัยในที่ต่ำใกล้ทะเล เช่น มณฑลกวางสี กวางตุ้ง ส่วนแถบอัลไตคนไทไม่น่าจะอยู่เพราะคนไทชอบปลูกข้าว ชอบดินแดนแถบร้อนไม่ชอบเนินเขา
นอกจากนี้ วูลแกรม อีเบอร์ฮาด (Wolgram E berhard) ชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และโบราณคดีจีน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยในงานเขียนชื่อ A History of China (พิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ) สรุปว่าเผ่าไทอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาอพยพมาอยู่แถบยูนนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย (สมัยราชวงศ์ฮั่น) ได้สร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน และถึงสมัยราชวงศ์ถัง เผ่าไทได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน
งานเขียนของบุคคลเหล่านี้ได้ให้แนวคิดแก่นักวิชาการไทยและต่างประเทศในระยะต่อมา เช่น ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปว่าชนชาติไต หรือไทอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน แถบตังเกี๋ย ลาว สยาม ถึงพม่า และอัสสัม
ส่วนนักวิชาการไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของคนไททั้งจากเอกสารไทยและต่างประเทศคือพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) งานเขียนของท่าน คือ พงศารโยนก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2441-2442 งานชิ้นนี้สรุปว่าคนไทมาจากตอนใต้ของจีนและ นักวิชาการไทยอีกท่านหนึ่งคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใช้วิธีการทางนิรุกติศาสตร์ วิเคราะห์ตำนาน พงศาวดารท้องถิ่นทางเหนือของไทยและตรวจสอบกับจารึกของประเทศข้างเคียง เขียนหนังสือ ชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และจาม และลักษณะสังคมของชื่อชนชาติ” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2519 จิตรสรุปว่าที่อยู่ของคนเผ่าไท อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เขมร พม่า และรัฐอัสสัมในอินเดีย และให้ความเห็นเกี่ยวกับน่านเจ้าว่า น่านเจ้าเป็นรัฐทางใต้สุด เดิมจีนเรียกอาษาจักรไต - หลอหลอ (น่านเจ้า แปลว่า เจ้าทางทิศใต้)
จะเห็นได้ว่าในบรรดานักวิชาการที่เชื่อว่าอดีตของเผ่าไทอยู่กระจัดกระจายใน บริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณทางเหนือของไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และรัฐอัสสัม และอินเดีย ต่างก็มีทัศนะที่ต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้าและนักวิชาการกลุ่มนี้เริ่มศึกษาค้น คว้าเรื่องราวของคนไทยโดยอาศัยหลักฐานหลายด้าน ทั้งด้านนิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
4. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นเดิมของไทอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน
พอล เบเนดิคท์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ค้นคว้าเรื่องเผ่าไทโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสรุปว่า ถิ่นเดิมของไทน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อประมาณ 4000-3500 ปีมาแล้ว พวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันคนไทให้กระจัดกระจายไปหลายทางขึ้นไปถึงทางใต้ของจีนปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจนอพยพลงใต้ไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และตังเกี๋ย จึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทกระจัดกระจายไปทั่ว
นักวิชาการไทย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้ความเห็นว่าดินแดนไทยปัจจุบันเป็นที่อาศัยของหมู่ชนที่เป็นบรรพบุรุษของไ ทยปัจจุบัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสรุปว่าบรรพบุรุษไทยอยู่ในดินแดนประเทศไท ยมาตลอด เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมรวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงกระดูกที่ขุดพบ
5. กลุ่มที่เชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทอาจอยู่ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
หรืออินโดจีน หรือบริเวณคาบสมุทรมลายู และค่อย ๆ กระจายไปทางตะวันตก และทางใต้ของอินโดจีนและทางใต้ของจีน
กลุ่มนี้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์บนรากฐาน ของวิชาพันธุศาสตร์ คือการศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือดและการศึกษาเรื่องฮีโมโกลบินอี เช่น นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือด พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายกับชาวชวาทางใต้มากกว่าจีนทางเหนือ จากการศึกษาวิธีนี้สรุปได้ว่า คนไทมิได้สืบเชื้อสายจากคนจีน
ส่วนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฮีโมโกลบินอีนั้น นายแพทย์ประเวศ วะสี และกลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปว่า ฮีโมโกลบินอี พบมากในผู้คนในแถบเอเชียอาคเนย์ คือ ไทย ลาว พม่า มอญ และอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยผู้คนทางภาคอีสานมีฮีโมโกลบินอีมากที่สุด (คนจีนเกือบไม่มีเลย)
สรุป ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวงการศึกษามีมากขึ้นและมีการแตกแขนงวิชาออกไปมากมาย เพื่อหาคำตอบเรื่องของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่ ทำให้ความรู้และความเชื่อเดิมของมนุษย์ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ความเชื่อในเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทซึ่งอยู่ที่มณฑลเสฉวนและทาง ภูเขาอัลไตจึงถูกวิพากษ์ถึงความสมเหตุสมผล และเมื่อมีการประสานกันค้นคว้าจากสหวิชาการจึงได้คำตอบในแนวใหม่ว่าคนเผ่าไท เป็นเผ่าที่อยู่กระจัดกระจายในแนวกว้างในบริเวณตอนใต้ของยูนนาน ทางตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐอัสสัมของอินเดีย พื้นฐานความเชื่อใหม่นี้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทราบได้ว่า คนเผ่านี้รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ไทใหญ่ ไทอาหม ผู้ไท ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ ไทลาว ไทยวน เป็นต้น การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียังสอดคล้องกับการค้นคว้าทางด้านนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์ที่พบว่า คนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เรียกชนชาติไทว่า ชาม ชาน เซม เซียม ซียาม เสียมบ้าง และในภาษาจีนเรียกว่า ส่าน ส้าน (สำหรับคนไทโดยทั่วไป) และเซียม (สำหรับไทสยาม) และความหมายของคำที่เรียกคนไทก็มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะชีวิตทางด้านสัง คมและการทำมาหากินของคนไทยเช่นคำว่า “ส่าน” ซึ่งเป็นคำภาษาจีนเรียกคนไท แปลว่า “ลุ่มแม่น้ำ” ความหมายนี้มีลักษณะสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติไทที่ก่อตั้งชุมชนขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและทำอาชีพกสิกรรม รู้จักทำทำนบหยาบ ๆ พร้อมทั้งคันคูระบายน้ำคือ เหมือง ฝาย รู้จักใช้แรงงานสัตว์และใช้เครื่องมือในการทำนา เช่น จอบ คราด ไถ
**ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไท และคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน คือการหันมาให้ความสนใจทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ เพราะไม่มีเชื้อชาติใดในโลกนี้ที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่เหนือชน เชื้อชาติอื่น ดินแดนประเทศไทยเป็นทางผ่านที่คนหลายเผ่าพันธุ์ หลายตระกูลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งรกราก ประเทศไทยเป็นแหล่งสะสมของคนหลายหมู่เหล่าก่อนที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐประชา ชาติที่เรียกว่าประเทศไทย ดังนั้นการเป็นคนไทจึงควรมองที่วัฒนธรรมไทยมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ

Tuesday, April 7, 2009

เกี่ยวกับชาวไต (ไทใหญ่) About Tai Shan

ชาวฉาน ซาน หรือ ไทยใหญ่ ที่เรียกตนเองว่า“ไต” (คนไตไม่เคยเรียกตนเองว่า “ซาน”) ส่วน มากอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ในสหภาพพม่า คำว่า“ซาน” ในภาษาพม่า (หมายถึง “ไต”) นั้น ถูกสะกดเป็น คำต่างๆ ในจารึกของพุกาม(ค.ศ.1044-1334) และในจดหมายเหตุ หรือ หนังสือเก่าของพม่า ในพม่าสมัยใหม่ คนไต ถูกเรียกว่า “ซาน” เช่น เดียวกันกับคนไตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ไว้ในภูมิ ภาคต่างๆของพม่า
ชาวฉาน หรือ ซาน คือชนชาติไตเผ่าหนึ่ง ในเผ่าไท หรือไต (The Tai race) มีจดหมายเหตุทางประวัติศาตร์ ระบุไว้ว่า ดินแดนพม่าส่วนบนปัจจุบัน คือ ที่อยู่อาศัยเก่าของ พวกผิ่ว (Pyu) และฉาน (ไต) ก่อนมีการสถาปนา ของราชอาณาจักรพูกามประเทศ ขึ้น โดยพระเจ้าอหน่อระถ่า {the Pagan kingdom by Anawratha (1044-1077)} ของพม่า
ในภูมิภาคยูนนานปัจจุบัน ราชอาณาจักรเมืองมาว(Mao kingdom) ของชาวไต ดำรงอยู่นานถึง กระทั่งถูกราชวงค์หมิงของจีน ปราบปราม จากฐานที่นั้น ชาวไต ส่งการจู่โจมรุกคืบถึง พม่าส่วนบนและอัสสัมอยู่บ่อยๆ ต่อมาพวกเขามีอาณานิคมในบางส่วนของรัฐฉานทิศใต้และ ทิศเหนือ รัฐกะฉิ่น ในเขตสะกาย ของพม่าตอนบนปัจจุบัน และดินแดนทั้งหมดเหล่านี้ ถูกผนวกเป็น อาณานิคม (อยู่ภายใต้เจ้า แผ่นดินเจ้าศักดินา ) ของอาณาจักรเมืองมาว ในที่สุด ชาวไตสามารถควบคุมได้ พม่าส่วนบนทั้งหมด (all Upper Burma) ช่วงระยะเวลาฉาน ของประวัติศาสตร์พม่านั้น ดำรงอยู่ได้จาก ค.ศ.1300 จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1540

อย่างไรก็ตามชาวไตในยูนนาน ถูกชาวจีนปราบราม ภายหลังสงครามต่อเนื่องสามครั้ง (ค.ศ.1441-1448) ความเสียหาย ครั้งสุดท้ายของประเทศไตในยูนนาน เกิดขี้นในปี1604 เมื่อถูก หน่วยทหารจีนโจมตีอย่างรวดเร็ว อาณาจักรเมืองมาว
ภายหลังการล่มสลายของราช อาณาจักรเมืองมาวในยูนนาน กำลังของชาวไตในพม่าก็อ่อนแอลง และในที่สุด ทำให้ได้แตกแยกเป็น อาณาเขตปกครอง ตนเองต่างๆ มากมาย ที่เรียกกันว่า นครรัฐ อันมีเจ้าฟ้าปกครองไว้ พัฒนาการ การเมืองและ ชีวิตความเป็นอยู่ ชาวไตในพม่า ได้ขึ้นอยู่กับ ประวัติ ศาสตร์ ทางการเมืองของพม่าอย่างมาก ผลสุดท้าย ชาวไตได้ถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้

1. ไตคำตี่ (the Khamti Shan) ชาวไต ที่อาศัยอยู่ในแคว้น คำตี่ ของเขตสะกาย (Sagaing Division) ของพม่าตอนบน (Upper Burma)

2. ไตมาว (the Mao Shan) ชาวไต ที่อาศัยอยู่ในหุบเขา และลุ่มแม่น้ำมาว (the Mao River valley)

3. ไตขึน หรือไตเขิน (the Gum(Hkun)Shan) ชาวไตที่ อาศัยอยู่ในมณฑลเชียงตุง ในรัฐฉานตะวัน ออก

ชาวไตนั้นอาศัยอยู่แพร่กระจายทั่วพม่า เช่นในรัฐฉาน (Shan state) รัฐกะฉิ่น (Kachin state) และเขตสะกาย (Sagaing division) รัฐและเขตต่างๆ ในพม่า ถูกกำหนดขึ้นระหว่างช่วงระยะเวลาการปกครองสหราชอาณาจักร (the British administration period 1885-1948)
ในช่วงเวลา ของกษัติย์พม่านั้น อาณาเขตของชาวไต ถูกตั้งชื่อ เรียกต่างๆนาๆ อย่างเช่น เซ็นไต "Saint Taing," ก่ำปอซ่าไต "Kambawza Taing," หาริปุนซ่าไต"Haripunza Taing," เข่หม่าวะระไต "Khemawara Taing," เป็นต้น
ในช่วงระยะเวลาอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ(1885-1948) พม่าถูกปรับปรุงจัดใหม่เป็น ระบบ รัฐ (states ) เขต (divisions) และ ผืนดินเนินเขา (hill tracts) รัฐฉานปัจจุบันถูกกำหนดขึ้น ระหว่างช่วงระยะเวลาอาณานิคมอังกฤษ และกลาย เป็น “สหพันธรัฐฉาน” (Federated Shan States) ในปี ค.ศ.1922 ส่วนที่เหลือ ของ อาณาบริเวณชาวไตในพม่า ถูกผนวกเข้าในเขตสะกาย(Sagaing Division) มิตรจีนา (Myitkyina) บะโหม่ (Bhamo) หรือ ม่านหม่อ หรือบ้านบ่อ และ แคว้น ปู่ต่าโอ่(Putao) หรือ ปู่เฒ่า หรือ ผู้เฒ่า ผลพวงทำให้ “รัฐไตภาคตะวันตกแม่น้ำอิระวดี” จึงได้หายไปจากประวัติศาสตร์ของคนไต
ด้วยอุปสรรคทางเชิงภูมิศาสตร์ ความยากลำบากในการสื่อสารหรือ การคมนาคม และระบบของการเมืองการปกครอง ตั้งแต่ตอนสมัยกษัติย์พม่า ได้แบ่งแยกชาว ไตออกจากกันและกัน จึงเกิดผลให้แต่ละกลุ่ม มีพัฒนาการ ตามแนวทาง วัฒนธรรมและ จารีตประเพณี ของตนเอง เรื่อยมา
ดังนั้น ชาวไตเหล่าที่ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาค คำตี่ จึง ถูกเรียกว่า “ไตคำตี่ (Khamti Shan)” เหล่าที่ตั้งถิ่นฐาน ในหุบเขาแม่น้ำมาว จึงถูกเรียกว่า “ไตมาว (Mao Shan)” และชาวไตเหล่าในรัฐฉานตะวันออกก็เรียก “ไตเขิน หรือไตขึน (Hkuns)” เป็นต้น

ที่มา: ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของตัวอักษรไต, 2004 จายคำเมือง
Sources: The History and Development of the Shan Script, 2004, Sai Kam Mong

Sunday, April 5, 2009

รู้จักกับไทใหญ่ Intorducing Thai Yai (Tai)

ไทใหญ่ (ไทใหญ่ จะเรียกตัวเองว่า “ไต”) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพนธ์ตระกุลไต หรือไท
คนที่พูดภาษาตระกูลไต(Tai language)หรือไท มิใช่มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเอเซียอาคเนย์ โดยมีอยู่ในสิบสองปันนา (Xishuangbanna)ของจีน ในรัฐอัสสัม(Assam)ของอินเดีย ในรัฐฉาน(Shan State) ในพม่า ในไทย( Thailand) ในลาว(Lao) และเวียดนาม (Vietnam) ด้วยเหตุที่คนที่พูดภาษาตระกูลไต หรือไทเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมาก และอยู่ในที่ต่างกันห่างไกลกันอย่างนี้ ทำให้ภาษาพูด ภาษาเขียนผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้างตามกาลเวลา และท้องถิ่นนั้น ๆ
ลักษณะการอยู่อาศัยของชนชาติตระกูลไต หรือไทมักอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ และนำเอาชื่อท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มาใช้ต่อท้ายคำว่า "ไต หรือไท" เช่น
ไตอาหม (อยู่รัฐอัสสัม) Tai Ahom people
ไตคำตี่(อยู่ในภาคเหนือของประเทศพม่า และในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย) Tai Khamti
ไตผาแก หรือ พ่าแก (อยู่ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย) Tai Phakae
ไตอ่ายทอน (อยู่ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย) Tai Ai-Ton
ไตมาว (อยู่เมืองมาว) Tai Mao
ไตใต้คง (อยู่ฟากใต้แม่น้ำคง) Tai Dehong or Taikhong
ไตเหนือคง (อยู่ฟากเหนือแม่น้ำคง หรือสาละวิน -Salween river) Tai Nue Khong
ไตใหญ่ (กลุ่มใหญ่ที่สุด) Tai Yai or Shan
ไตน้อย (ไทย) Tai noi or Thai
ไตโยน (อยู่ในแคว้นโยนก) Tai Yon or Kon Muang
ไตเขิน หรือไตขึน Tai Khuen
ไตดำ หรือ ไตหลำ Tai Dam or Black Tai
ไตขาว Tai Khao or White Tai
ไตแดง หรือ ไตแหลง Tai Daeng or Red Tai
ฯลฯ
ชนตระกูลไตเหล่านี้ แต่ละกลุ่มที่พูดสำเนียงเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เป็นภูมิภาค หรือเป็นรัฐ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันมาก ต่างก็เข้าใจว่า ภาษาที่ชนกลุ่มของตนพูดเป็นภาษาไต หรือภาษาไทแท้ ในส่วนศัพท์รากเหง้าของภาษานั้นเป็นคำเดียวกันและใช้พูดเหมือนกัน ก็เช่น
ข้าว กิน แขน ขา เข่า หัว ตัว ไป มา พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา กา ไก่ เป็ด ฯลฯ
คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำไต หรือไทแท้ ไตทุกกลุ่มจึงใช้ศัพท์เดียวกันนี้พูดและสื่อสารต่อกัน
ไทใหญ่เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพนธ์ตระกุลไต (Tai language) อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน รัฐอัสสัมของอินเดีย พม่าทางตอนเหนือ รัฐฉาน และทางภาคเหนือของไทย มีภาษาพูดและภาษาเขียนเฉพาะตน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่สวยงาม ประเพณีวัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา กิจกรรมอันเนื่องด้วยประเพณีส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา มีจิตใจอ่อนโยนเพราะอาศัยกระบวนการขัดเกลาทางศาสนาและสังคม จึงดูเหมือนว่าถูกเอารัดเปรียบได้ง่าย

Friday, April 3, 2009

ความหมายของคำว่า “คนไท” และ “คนไทย” Define Tai and Thai People

“ไท(Tai)” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย(Thai)” ไท หมายถึง ไต ในสำเนียงชนชาติไต
“คนไท หรือ คนไต)” คือ บุคคลซึ่งพูดภาษาตระกูลไท (Tai Language) ไม่ว่า ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทน้อย ไทเขิน ไทคำตี่ ไทอัสสัม ไทแดง ไทขาว ไทใต้คงหรือไทเหนือ เป็นคนไท หรือ คนไต ทั้งสิ้น ซึ่งกระจายตัวอยู่ เป็นวงกว้างในเอเชีย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ บุคคลเหล่านี้ มีขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันได้ เป็นไปตามเผ่าแต่ละเผ่า
“คนไทย” คือ (คนไทยในประเทศไทย) มีสัญชาติไทย และรวมถึงคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศต่าง ๆ ด้วย บุคคลซึ่งมีเชื้อชาติไทย พูดภาษาตระกูลไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเชื้อชาติไทย
บุคคลเหล่านี้ แม้ว่าอยู่ในประเทศไทย การใช้ภาษาและ ขนบธรรมเนียมประดพณี อาจจะแตกต่างกันได้ เป็นไป ตามเผ่าแต่ละเผ่า
สรูป คือ “คนไท” หรือ “คนไต” หมายถึง บุคคลซึ่งพูดภาษาตระกูลไท (Tai Language) ทั้งหมด “คนไทย” คือ คนไทยในประเทศไทย และต่างประเทศ ที่มีสัญชาติไทย และอาจรวมถึงที่คนไทยที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วย

Wednesday, April 1, 2009

ภาษาไทยและเผ่า(เครือ)ไตมีภาษาในการพูดเหมือนกัน 50% Thai & Tai words similar 50%

ภาษาไทยภาษาไต
พ่อแม่ ป้อแม่ (Parent)
กิน กิ๋น (Eat)
นอนนอน (Sleep)
ข้าหรือข้าพเจ้า ข้า,ข้าเฮา(เรียกตัวเอง) (I)
ข้าเฮาเขา (เป็นพหูพจน์) หมายถึงพวกเรา (We)
ท่านเจ้า (ใช้เรียกคู่สนทนาแบบให้เกียรติ) (You)
เจ้าเขา, สูเขา (เป็นพหูพจน์) หมายถึงพวกท่าน (You)
กูเก๋า (ข้าพเจ้า กู หรือ ฉัน) (I)
มึงใม(มา-อึ) (สำเนียงไม่มีในภาษาไทย) ท่าน, มึง (You)
กินข้าว กิ๋นเข้า (รับประทานข้าว) (Have a meal/rice)
หัวใจ หัวใจ๋ หรือ โหใจ๋ (Heart)
นานา (นา หรือทุ่งนา) (Field)
ไร่ ไฮ่ หรือไห้ (ไร่ หรือท้องไร่) (Farm)
วัว,ควายโว,กวาย (Cattle)
ช้าง, ม้า จ้าง, ม่า (Elephant, Horse)
หนึ่งหนึ้ง (One)
สองสอง (Two)
สามสาม (Three)
สี่สี่ (Four)
ห้าห้า (Five)
หกฮก (Six)
เจ็ดเจ๊ด (Seven)
แปดแปด (Eight)
เก้าเก้า (Nine)
สิบซีบ (Ten)

Saturday, March 28, 2009

ทำไม ไทใหญ่จึงเรียกตัวเองว่า "ไต" Why Thai Yai call themselves "Tai"

คำว่า "ไต" นั้นก็คือคำว่า "ไทย" นั้นเอง เพราะการออกเสียงสำเนียงในดินแดนทางคอนเหนือ หรือภาคเหนือ หรือไทยล้านนาของประเทศไทย และภาษาไต (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดก็ตาม) นั้นจะนิยมออกสำเนียงต่างกันไปกับ ภาษาไทยกลางปัจจุบัน กล่าวคือตามหลักภาษาศาสตร์นั้น ถ้าภาคกลางออกเสียงพยัญชนะหลักที่ 3 ภาคเหนือ หรือคนไตจะนำมาออกเสียงเป็นพยัญชนะ หลักที่ 1 ของวรรคนั้นๆ กล่าวคือ
ถ้าภาคกลางออกเสียง ค.ควาย แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ก.ไก่ เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิด เป็น กึด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ช.ช้าง แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น จ.จาน เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ท.ทหาร แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ต.เต่า เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, เทียน เป็น เตียน, ทาง เป็น ตาง หรือ ไท เป็น ไต เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง พ.พาน แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ป.ปลา เช่น พ่อแม่ เป็น ป้อแม่, พี่น้อง เป็น ปี้น้อง เป็นต้น
ฉะนั้นตามหลักภาษาศาตร์ ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะนิยมสำเนียง ท.ทหาร แต่ออกเสียงเป็น ต.เต่า ดั่งนั้นภาคกลางเรียกตนเองว่า "ไทย" ภาษาภาคเหนือ หรือไทยตอนเหนือ หรือไต ก็จะออกเสียงในการเรียกตนเองเป็น "ไต" นั้นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "ไต" ก็คือกลุ่ใคนที่เรียดตนเองว่า "ไทย" นั่นเอง

การออกเสียง คำว่า ไท(ไทย) เป็น ไต ตามหลักภาษาศาสตร์
คนไต หรือไทใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภาษาและสำเนียงการพูด ที่คล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกันกับ ไทยภาคเหนือล้านนา หรืออีสานมาก เพราะตามหลักภาษาไทยตอนเหนือนิยมแตกต่างจากภาคกลาง จึงสามารถแบ่งสำเนียงนิยม, หรือหลักภาษานิยม หรือการกลายเสียงตามภาษาศาสตร์ ซึ่งมีการกลายเสียง 3 อย่าง คือ –
1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
2. การกลายเสียงของสระ
3. การกลายเสียงของวรรณยุกต์

1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
ภาษาพูดไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไตนั้น มีหลักการออกเสียง และกลายเสียงของพยัญชนะไว้ดังนี้ –
1.1 กลายเสียงของพยัญชนะ
การจัดวรรคหมวดหมู่ในพยัญชนะนั้น จัดได้ตามวรรคคือ


การออกเสียงเป็นวรรค

หลักที่ 1

หลักที่ 2

หลักที่ 3

หลักที่ 4

หลักที่ 5

วรรค กะ

วรรค จะ

วรรค ตะ

วรรค ปะ




ตามตารางการออกเสียง ถ้าไทยภาคกลางใช้หลักที่ 3 ของแต่ละวรรค ไทยล่านนาและไตนั้น จะนิยมนำมาออกเสียงสำเนียงการพูดมาเป็นหลักที่ 1 ดังนี้ –
ค เป็น ก เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิดเป็นกึด, ควายเป็นกวาย
ช " จ เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด
ท " ต เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, ทาง เป็น ตาง.แท้ๆ เป็น แต้ๆ ไท เป็น ไต
พ " ป เช่น พ่อแม่พี่น้อง เป็น ป้อแม่ปี้น้อง. แพะ เป็น แปะ, พัน เป็น ปัน

ฉะนั้น ดังตารางหลักภาษาศาสตร์ เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต นิยมภาษา ใช้หลักที่ 3 มาเป็นหลักที่ 1 ของไทยภาคกลาง กล่าวคื นิยม ท.ทหาร มาเป็น ต.เต่า ในสรรค ตะ แล้ว เช่นคำว่า เทียน ก็เป็นเตียน, คำว่า ท่าน้ำ เป็น ต้าน้ำ ฉะนั้นคำว่า ไทยนั้น เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต จะเรียกตัวเองว่า "ไท" จึงออกสำเนียงเป็น "ไต" นั้นเอง
1.1 ภาษาไทยล้านนาและไตออกเสียง ร.เรีอ เป็น ฮ.นกฮูก เช่น รัก เป็น ฮัก. เรีอ เป็น เฮือ,
เชียงราย เป็น เจียงฮาย เป็นต้น
1.2 ภาษาไทยล้านนาและไต จะไม่ออกเสียงควบ ร และ ล ถ้าพยัญชนะไทยกลางออดควบ ล เช่น ปลา ก็ไม่ออกเสียง ล.ลิง จะออก เป็น ป๋า เท่านั้น
1.3 ภาษาไต ออกเสียง ด.เด็ก เป็น ล.ลิง เช่น ดอย จะเป็น หลอย, ดาว จะเป็น หลาว

2. การออกเสียง สระ
2.1 ภาษาไต ออกเสียงเปิดปากปานกลาง เช่น ออกเสียง เอีย เป็น เอ, เมีย เป็น เม, และเสียง เอือ ก็จะเป็น เออ, เช่น เมือง เป็น เมิง, สระอัว (อู+อา) เป็น โอ เช่น วัว เป็น โว
2.2 ภาษาไตเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบ สระ (อา+อึ) เป็น ใอ หรือ ไม้ม้วน (-ใ) เช่น ใจ จะออกเสียง เป็น ใจ๋(จะ+อึ), ไหญ่ เป็น ใหญ่(ญะอึ) สำเนียงนี้ไทยกลางไม่มี จึงออกเสียงได้ลำบาก
3. การกลายเสียงวรรณยุกต์
3.1 วรรณยุกต์ในภาษาไทยล้านนาและไตนั้น เสียงสามัญ และไม้เอก จะเป็นเสียงจัตวา เช่น แบ่งปัน เป็น แบ่งปั๋น
3.2 เสียงสามัญ
เสียงสามัญ หรือเสียงปกติของไทยภาคกลางนั้น ถ้าเป็นภาษาไต หรือ ไทนล้านนา จะออกเสียงสามัญ หรือปกตอ เป็น เสียง "จัตวา"
ไทยภาคกลาง ไทยล้านนาหรือไต
กิน (เสียงสามัญ) เป็น กิ๋น (เสียงสามัญของไตและล้านนา)
หัวใจ (เสียงสามัญ) เป็น หัวใจ๋ (โหใจ๋ ) (เสียงสามัญของไตและล้านนา)

ภาษาไต คำที่ใช้เรียกสัปดาห์
วันอาทิตย์ เรียกว่า วันอาติตย์
วันจันทร์ เป็น วันจั๋น
วันอังคาร เป็น วันอังกาน
วันพุธ เป็น วันปุต
วันพฤหัสบดี เป็น วันพัต
วันศักร์ เป็น วันศุกร์(วันซูก)

เปรียบเทียบภาษาไทย กับภาษาไต คำที่ใช้เรียกเดือน

ภาษาไทย

ภาษาไต

เดือนอ้าย

เหลินเจี๋ยง

เดือนยี่

เหลินก๋ำ

เดือนสาม

เหลินสาม

เดือนสี่

เหลินสี่

เดือนห้า

เหลินห้า

เดือนหก

เหลินฮก

เดือนเจ็ด

เหลินเจ็ด

เดือนแปด

เหลินแปด

เดือนเก้า

เหลินเก้า

เดือนสิบ

เหลินสิบ(ซีบ)

เดือนสิบเอ็ด

เหลินสิบเอ็ด (ซีบเอ๊ด)

เดือนสิบสอง

เหลินสิบสอง(ซีบสอง)

ความจริงเรื่องคนไตหรือไทใหญ่ The Real Tai People

ชนชาติไต หรือ ฉาน ซึ่งเรียกตัวเองว่า "คนไต"(Tai) หรือคนไทยเรียกว่า "ไทยใหญ่" (Thaiyai) หรือคนเมืองเรียกว่า "เงี้ยว" (คำว่า"เงี้ยว"นี้สันนิษฐานว่า หมายถึงชนชาติที่เคยอาศัยอยู่ที่นครเงี้ยว ในยุคอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งมีเมืองหรือ นครใหญ่ๆ อยู่ 3 นคร คือนครลุง นครปา และนครเงี้ยว) หรือพม่าเรียกว่า "ซาน" (Shan) และคำว่า ฉาน ก็ คือคำว่า สยาม(Siam) ที่คนไทยเรียกตนเองในอดีดว่า "ชาวสยาม" นั้นเอง ส่วนคำว่า "ไต" นั้นเป็นสำเนียงที่ไทใหญ่ที่จะเรียกตนเองว่า "ไท" แต่มีการออกเสียงสำเนียงเป็น "ไต" เพราะคนไทยทางภาคเหนือและคนไต (ไม่ว่าไตในรัฐอัสสัม (Assam State-Tai Ahom, Tai Phake) ในประเทศอินเดีย หรือไตในสิบสองปันนา หรือไตใต้คงในประเทศจีน หรือไตในเมืองไต รัฐฉาน) จะนิยมออกเสียงตามอักษรศาสตร์ คือนิยมใช้สำเนียงอักษร ท.ทหาร มาเป็น ต.เต่า ทุกครั้ง เช่นคำว่า "เทียน" ก็จะออกเสียงเป็น "เตียน" คำว่าทองเหลืองก็จะออกเปน ตองเหลือง, คำว่าเทวทัต ก็เป็น เตวตัต คำว่า ทาง ก็จะเป็น ตาง เป็นต้น ด้วยสำเนียงเสียงอักษรนิยมดังกล่าว เมื่อคนไทใหญ่จะพูดว่าตนเองเป็น"ไทย" จึงออกสำเนียงเป็น "ไต" นั้นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "ไต" และ "ไท" ก็คือศัพท์คำเดียวกันนั่นเอง
ชนชาติไตนั้น เมื่อได้อพยพถอยร่นลงมาจากอาณาจักรไตน่านเจ้าหรือล้านเจ้า ก็มาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำคง หรือแม่น้ำสาลวิน (Salween)ในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนส่วนใหญ่ของคนไตนั้น อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสาลวิน ทิศตะวันตกมีดินแดนติดกับพม่า ทิศตะวันออกมีดินแดนติดกับมลฑลยูนานของประเทศจีน และทิศใต้มีดินแดนติดกับประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำอิระวดีตอนบน(Irrawaddy)ลุ่มแม่น้ำมาว(Shweli-Nam Mao) เป็นต้น ในยุคที่อพยพมาจากอาณาจักรน่านเจ้านั้น ประเทศต่างยังไม่ได้แบ่งเขตแดนชัดเจนดั่งเช่นปัจจุบันนี้ เมืองต่างๆ ในรัฐฉานหรือประเทศไตในยุคนั้น ต่างก็ปกครองกันอย่างอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร ดังนั้นจึงมีเจ้าครองเมืองเป็นจำนวนมาก ที่เรียกกันว่า เจ้าเมืองบ้าง เจ้าฟ้าบ้าง ขุนเมืองบ้าง (กษัตริย์ เรียกว่า ขุนหอคำ) พญาบ้าง ด้วยหตุที่ต่างๆมีอำนาจปกครอง ตนเอง และไม่มีเจ้าเมืองเมืองไหนที่มีอำนาจบารมีพอที่จะรวบรวมเมืองต่างๆ ผนวกเข้าให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันได้ หลังจาก อาณาจักรเมืองมาวหลวง (Mao Kingdom)(ค.ศ. 1311-1405 ) ล่มสลาย คนไตจึงมีการรบกันเองบ้าง รบกับพม่าบ้าง เพื่อแย่งดินแดนและแย่งกันเป็นใหญ่ตามเมืองต่างๆ บางครั้งก็คนไตได้ปกครองบ้าง เช่นเมืองอังวะหรือ อาวะ(Ava) ราชวงศ์สามพี่น้องซึ่งเป็นคนไตเคยปกครองมาในศตววษที่ 13 และ14 เมื่อพม่าเรีองอำนาจก็สามารถยึดเมืองต่างๆไว้ในครอบครองของพม่าได้ ด้วยเหตุนี้ คนไตจึงอยู่ใต้การปกครองของพม่า จนกระทั่งถึงยุคอาณานิคมอังกฤษ

------------------------
ฉาน = ซาน = สยาม = Shan or Siam
ไต = ไท =(ไทย) = Tai or Thai
รัฐฉาน = เมืองไต = Mong tai or Shan State
แม่น้ำคง = แม่น้ำสาลวิน = Nam Khong or Salween River
แม่น้ำเกี๋ยว = แม่น้ำอิระวดี = Irrawaddy or Ayeyarwady
แม่น้ำมาว = Nam Mao or Shweli
เมืองอังวะ หรืออาวะ = Ava or Innwa
เมืองมาว = Mao Kingdom
ขุนหอคำ = กษัตริย์ = King
รัฐอัสสัม = Assam State (The Tai Ahom Kingdom of Assam)