ถ้าภาคกลางออกเสียง ค.ควาย แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ก.ไก่ เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิด เป็น กึด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ช.ช้าง แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น จ.จาน เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ท.ทหาร แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ต.เต่า เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, เทียน เป็น เตียน, ทาง เป็น ตาง หรือ ไท เป็น ไต เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง พ.พาน แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ป.ปลา เช่น พ่อแม่ เป็น ป้อแม่, พี่น้อง เป็น ปี้น้อง เป็นต้น
ฉะนั้นตามหลักภาษาศาตร์ ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะนิยมสำเนียง ท.ทหาร แต่ออกเสียงเป็น ต.เต่า ดั่งนั้นภาคกลางเรียกตนเองว่า "ไทย" ภาษาภาคเหนือ หรือไทยตอนเหนือ หรือไต ก็จะออกเสียงในการเรียกตนเองเป็น "ไต" นั้นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "ไต" ก็คือกลุ่ใคนที่เรียดตนเองว่า "ไทย" นั่นเอง
การออกเสียง คำว่า ไท(ไทย) เป็น ไต ตามหลักภาษาศาสตร์
คนไต หรือไทใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภาษาและสำเนียงการพูด ที่คล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกันกับ ไทยภาคเหนือล้านนา หรืออีสานมาก เพราะตามหลักภาษาไทยตอนเหนือนิยมแตกต่างจากภาคกลาง จึงสามารถแบ่งสำเนียงนิยม, หรือหลักภาษานิยม หรือการกลายเสียงตามภาษาศาสตร์ ซึ่งมีการกลายเสียง 3 อย่าง คือ –
1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
2. การกลายเสียงของสระ
3. การกลายเสียงของวรรณยุกต์
1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
ภาษาพูดไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไตนั้น มีหลักการออกเสียง และกลายเสียงของพยัญชนะไว้ดังนี้ –
1.1 กลายเสียงของพยัญชนะ
การจัดวรรคหมวดหมู่ในพยัญชนะนั้น จัดได้ตามวรรคคือ
การออกเสียงเป็นวรรค | หลักที่ 1 | หลักที่ 2 | หลักที่ 3 | หลักที่ 4 | หลักที่ 5 |
วรรค กะ | ก | จ | ค | ฆ | ง |
วรรค จะ | จ | ฉ | ช | ฌ | ญ |
วรรค ตะ | ต | ถ | ท | ธ | น |
วรรค ปะ | ป | ผ | พ | ภ | ม |
ตามตารางการออกเสียง ถ้าไทยภาคกลางใช้หลักที่ 3 ของแต่ละวรรค ไทยล่านนาและไตนั้น จะนิยมนำมาออกเสียงสำเนียงการพูดมาเป็นหลักที่ 1 ดังนี้ –
ค เป็น ก เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิดเป็นกึด, ควายเป็นกวาย
ช " จ เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด
ท " ต เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, ทาง เป็น ตาง.แท้ๆ เป็น แต้ๆ ไท เป็น ไต
พ " ป เช่น พ่อแม่พี่น้อง เป็น ป้อแม่ปี้น้อง. แพะ เป็น แปะ, พัน เป็น ปัน
ฉะนั้น ดังตารางหลักภาษาศาสตร์ เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต นิยมภาษา ใช้หลักที่ 3 มาเป็นหลักที่ 1 ของไทยภาคกลาง กล่าวคื นิยม ท.ทหาร มาเป็น ต.เต่า ในสรรค ตะ แล้ว เช่นคำว่า เทียน ก็เป็นเตียน, คำว่า ท่าน้ำ เป็น ต้าน้ำ ฉะนั้นคำว่า ไทยนั้น เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต จะเรียกตัวเองว่า "ไท" จึงออกสำเนียงเป็น "ไต" นั้นเอง
1.1 ภาษาไทยล้านนาและไตออกเสียง ร.เรีอ เป็น ฮ.นกฮูก เช่น รัก เป็น ฮัก. เรีอ เป็น เฮือ,
เชียงราย เป็น เจียงฮาย เป็นต้น
1.2 ภาษาไทยล้านนาและไต จะไม่ออกเสียงควบ ร และ ล ถ้าพยัญชนะไทยกลางออดควบ ล เช่น ปลา ก็ไม่ออกเสียง ล.ลิง จะออก เป็น ป๋า เท่านั้น
1.3 ภาษาไต ออกเสียง ด.เด็ก เป็น ล.ลิง เช่น ดอย จะเป็น หลอย, ดาว จะเป็น หลาว
2. การออกเสียง สระ
2.1 ภาษาไต ออกเสียงเปิดปากปานกลาง เช่น ออกเสียง เอีย เป็น เอ, เมีย เป็น เม, และเสียง เอือ ก็จะเป็น เออ, เช่น เมือง เป็น เมิง, สระอัว (อู+อา) เป็น โอ เช่น วัว เป็น โว
2.2 ภาษาไตเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบ สระ (อา+อึ) เป็น ใอ หรือ ไม้ม้วน (-ใ) เช่น ใจ จะออกเสียง เป็น ใจ๋(จะ+อึ), ไหญ่ เป็น ใหญ่(ญะอึ) สำเนียงนี้ไทยกลางไม่มี จึงออกเสียงได้ลำบาก
3. การกลายเสียงวรรณยุกต์
3.1 วรรณยุกต์ในภาษาไทยล้านนาและไตนั้น เสียงสามัญ และไม้เอก จะเป็นเสียงจัตวา เช่น แบ่งปัน เป็น แบ่งปั๋น
3.2 เสียงสามัญ
เสียงสามัญ หรือเสียงปกติของไทยภาคกลางนั้น ถ้าเป็นภาษาไต หรือ ไทนล้านนา จะออกเสียงสามัญ หรือปกตอ เป็น เสียง "จัตวา"
ไทยภาคกลาง ไทยล้านนาหรือไต
กิน (เสียงสามัญ) เป็น กิ๋น (เสียงสามัญของไตและล้านนา)
หัวใจ (เสียงสามัญ) เป็น หัวใจ๋ (โหใจ๋ ) (เสียงสามัญของไตและล้านนา)
ภาษาไต คำที่ใช้เรียกสัปดาห์
วันอาทิตย์ เรียกว่า วันอาติตย์
วันจันทร์ เป็น วันจั๋น
วันอังคาร เป็น วันอังกาน
วันพุธ เป็น วันปุต
วันพฤหัสบดี เป็น วันพัต
วันศักร์ เป็น วันศุกร์(วันซูก)
เปรียบเทียบภาษาไทย กับภาษาไต คำที่ใช้เรียกเดือน
ภาษาไทย | ภาษาไต |
เดือนอ้าย | เหลินเจี๋ยง |
เดือนยี่ | เหลินก๋ำ |
เดือนสาม | เหลินสาม |
เดือนสี่ | เหลินสี่ |
เดือนห้า | เหลินห้า |
เดือนหก | เหลินฮก |
เดือนเจ็ด | เหลินเจ็ด |
เดือนแปด | เหลินแปด |
เดือนเก้า | เหลินเก้า |
เดือนสิบ | เหลินสิบ(ซีบ) |
เดือนสิบเอ็ด | เหลินสิบเอ็ด (ซีบเอ๊ด) |
เดือนสิบสอง | เหลินสิบสอง(ซีบสอง) |
No comments:
Post a Comment