ชาวฉาน ซาน หรือ ไทยใหญ่ ที่เรียกตนเองว่า“ไต” (คนไตไม่เคยเรียกตนเองว่า “ซาน”) ส่วน มากอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ในสหภาพพม่า คำว่า“ซาน” ในภาษาพม่า (หมายถึง “ไต”) นั้น ถูกสะกดเป็น คำต่างๆ ในจารึกของพุกาม(ค.ศ.1044-1334) และในจดหมายเหตุ หรือ หนังสือเก่าของพม่า ในพม่าสมัยใหม่ คนไต ถูกเรียกว่า “ซาน” เช่น เดียวกันกับคนไตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ไว้ในภูมิ ภาคต่างๆของพม่า
ชาวฉาน หรือ ซาน คือชนชาติไตเผ่าหนึ่ง ในเผ่าไท หรือไต (The Tai race) มีจดหมายเหตุทางประวัติศาตร์ ระบุไว้ว่า ดินแดนพม่าส่วนบนปัจจุบัน คือ ที่อยู่อาศัยเก่าของ พวกผิ่ว (Pyu) และฉาน (ไต) ก่อนมีการสถาปนา ของราชอาณาจักรพูกามประเทศ ขึ้น โดยพระเจ้าอหน่อระถ่า {the Pagan kingdom by Anawratha (1044-1077)} ของพม่า
ในภูมิภาคยูนนานปัจจุบัน ราชอาณาจักรเมืองมาว(Mao kingdom) ของชาวไต ดำรงอยู่นานถึง กระทั่งถูกราชวงค์หมิงของจีน ปราบปราม จากฐานที่นั้น ชาวไต ส่งการจู่โจมรุกคืบถึง พม่าส่วนบนและอัสสัมอยู่บ่อยๆ ต่อมาพวกเขามีอาณานิคมในบางส่วนของรัฐฉานทิศใต้และ ทิศเหนือ รัฐกะฉิ่น ในเขตสะกาย ของพม่าตอนบนปัจจุบัน และดินแดนทั้งหมดเหล่านี้ ถูกผนวกเป็น อาณานิคม (อยู่ภายใต้เจ้า แผ่นดินเจ้าศักดินา ) ของอาณาจักรเมืองมาว ในที่สุด ชาวไตสามารถควบคุมได้ พม่าส่วนบนทั้งหมด (all Upper Burma) ช่วงระยะเวลาฉาน ของประวัติศาสตร์พม่านั้น ดำรงอยู่ได้จาก ค.ศ.1300 จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1540
อย่างไรก็ตามชาวไตในยูนนาน ถูกชาวจีนปราบราม ภายหลังสงครามต่อเนื่องสามครั้ง (ค.ศ.1441-1448) ความเสียหาย ครั้งสุดท้ายของประเทศไตในยูนนาน เกิดขี้นในปี1604 เมื่อถูก หน่วยทหารจีนโจมตีอย่างรวดเร็ว อาณาจักรเมืองมาว
ภายหลังการล่มสลายของราช อาณาจักรเมืองมาวในยูนนาน กำลังของชาวไตในพม่าก็อ่อนแอลง และในที่สุด ทำให้ได้แตกแยกเป็น อาณาเขตปกครอง ตนเองต่างๆ มากมาย ที่เรียกกันว่า นครรัฐ อันมีเจ้าฟ้าปกครองไว้ พัฒนาการ การเมืองและ ชีวิตความเป็นอยู่ ชาวไตในพม่า ได้ขึ้นอยู่กับ ประวัติ ศาสตร์ ทางการเมืองของพม่าอย่างมาก ผลสุดท้าย ชาวไตได้ถูกแบ่งแยกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้
1. ไตคำตี่ (the Khamti Shan) ชาวไต ที่อาศัยอยู่ในแคว้น คำตี่ ของเขตสะกาย (Sagaing Division) ของพม่าตอนบน (Upper Burma)
2. ไตมาว (the Mao Shan) ชาวไต ที่อาศัยอยู่ในหุบเขา และลุ่มแม่น้ำมาว (the Mao River valley)
3. ไตขึน หรือไตเขิน (the Gum(Hkun)Shan) ชาวไตที่ อาศัยอยู่ในมณฑลเชียงตุง ในรัฐฉานตะวัน ออก
ชาวไตนั้นอาศัยอยู่แพร่กระจายทั่วพม่า เช่นในรัฐฉาน (Shan state) รัฐกะฉิ่น (Kachin state) และเขตสะกาย (Sagaing division) รัฐและเขตต่างๆ ในพม่า ถูกกำหนดขึ้นระหว่างช่วงระยะเวลาการปกครองสหราชอาณาจักร (the British administration period 1885-1948)
ในช่วงเวลา ของกษัติย์พม่านั้น อาณาเขตของชาวไต ถูกตั้งชื่อ เรียกต่างๆนาๆ อย่างเช่น เซ็นไต "Saint Taing," ก่ำปอซ่าไต "Kambawza Taing," หาริปุนซ่าไต"Haripunza Taing," เข่หม่าวะระไต "Khemawara Taing," เป็นต้น
ในช่วงระยะเวลาอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ(1885-1948) พม่าถูกปรับปรุงจัดใหม่เป็น ระบบ รัฐ (states ) เขต (divisions) และ ผืนดินเนินเขา (hill tracts) รัฐฉานปัจจุบันถูกกำหนดขึ้น ระหว่างช่วงระยะเวลาอาณานิคมอังกฤษ และกลาย เป็น “สหพันธรัฐฉาน” (Federated Shan States) ในปี ค.ศ.1922 ส่วนที่เหลือ ของ อาณาบริเวณชาวไตในพม่า ถูกผนวกเข้าในเขตสะกาย(Sagaing Division) มิตรจีนา (Myitkyina) บะโหม่ (Bhamo) หรือ ม่านหม่อ หรือบ้านบ่อ และ แคว้น ปู่ต่าโอ่(Putao) หรือ ปู่เฒ่า หรือ ผู้เฒ่า ผลพวงทำให้ “รัฐไตภาคตะวันตกแม่น้ำอิระวดี” จึงได้หายไปจากประวัติศาสตร์ของคนไต
ด้วยอุปสรรคทางเชิงภูมิศาสตร์ ความยากลำบากในการสื่อสารหรือ การคมนาคม และระบบของการเมืองการปกครอง ตั้งแต่ตอนสมัยกษัติย์พม่า ได้แบ่งแยกชาว ไตออกจากกันและกัน จึงเกิดผลให้แต่ละกลุ่ม มีพัฒนาการ ตามแนวทาง วัฒนธรรมและ จารีตประเพณี ของตนเอง เรื่อยมา
ดังนั้น ชาวไตเหล่าที่ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาค คำตี่ จึง ถูกเรียกว่า “ไตคำตี่ (Khamti Shan)” เหล่าที่ตั้งถิ่นฐาน ในหุบเขาแม่น้ำมาว จึงถูกเรียกว่า “ไตมาว (Mao Shan)” และชาวไตเหล่าในรัฐฉานตะวันออกก็เรียก “ไตเขิน หรือไตขึน (Hkuns)” เป็นต้น
ที่มา: ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของตัวอักษรไต, 2004 จายคำเมือง
Sources: The History and Development of the Shan Script, 2004, Sai Kam Mong
Tuesday, April 7, 2009
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment