Saturday, March 28, 2009

ทำไม ไทใหญ่จึงเรียกตัวเองว่า "ไต" Why Thai Yai call themselves "Tai"

คำว่า "ไต" นั้นก็คือคำว่า "ไทย" นั้นเอง เพราะการออกเสียงสำเนียงในดินแดนทางคอนเหนือ หรือภาคเหนือ หรือไทยล้านนาของประเทศไทย และภาษาไต (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใดก็ตาม) นั้นจะนิยมออกสำเนียงต่างกันไปกับ ภาษาไทยกลางปัจจุบัน กล่าวคือตามหลักภาษาศาสตร์นั้น ถ้าภาคกลางออกเสียงพยัญชนะหลักที่ 3 ภาคเหนือ หรือคนไตจะนำมาออกเสียงเป็นพยัญชนะ หลักที่ 1 ของวรรคนั้นๆ กล่าวคือ
ถ้าภาคกลางออกเสียง ค.ควาย แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ก.ไก่ เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิด เป็น กึด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ช.ช้าง แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น จ.จาน เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง ท.ทหาร แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ต.เต่า เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, เทียน เป็น เตียน, ทาง เป็น ตาง หรือ ไท เป็น ไต เป็นต้น
ถ้าภาคกลางออกเสียง พ.พาน แต่ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะออกเสียงสำเนียงเป็น ป.ปลา เช่น พ่อแม่ เป็น ป้อแม่, พี่น้อง เป็น ปี้น้อง เป็นต้น
ฉะนั้นตามหลักภาษาศาตร์ ไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไต จะนิยมสำเนียง ท.ทหาร แต่ออกเสียงเป็น ต.เต่า ดั่งนั้นภาคกลางเรียกตนเองว่า "ไทย" ภาษาภาคเหนือ หรือไทยตอนเหนือ หรือไต ก็จะออกเสียงในการเรียกตนเองเป็น "ไต" นั้นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "ไต" ก็คือกลุ่ใคนที่เรียดตนเองว่า "ไทย" นั่นเอง

การออกเสียง คำว่า ไท(ไทย) เป็น ไต ตามหลักภาษาศาสตร์
คนไต หรือไทใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนภาษาและสำเนียงการพูด ที่คล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกันกับ ไทยภาคเหนือล้านนา หรืออีสานมาก เพราะตามหลักภาษาไทยตอนเหนือนิยมแตกต่างจากภาคกลาง จึงสามารถแบ่งสำเนียงนิยม, หรือหลักภาษานิยม หรือการกลายเสียงตามภาษาศาสตร์ ซึ่งมีการกลายเสียง 3 อย่าง คือ –
1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
2. การกลายเสียงของสระ
3. การกลายเสียงของวรรณยุกต์

1. การกลายเสียงของพยีญชนะ
ภาษาพูดไทยตอนเหนือ หรือ ไทยล้านนา หรือไตนั้น มีหลักการออกเสียง และกลายเสียงของพยัญชนะไว้ดังนี้ –
1.1 กลายเสียงของพยัญชนะ
การจัดวรรคหมวดหมู่ในพยัญชนะนั้น จัดได้ตามวรรคคือ


การออกเสียงเป็นวรรค

หลักที่ 1

หลักที่ 2

หลักที่ 3

หลักที่ 4

หลักที่ 5

วรรค กะ

วรรค จะ

วรรค ตะ

วรรค ปะ




ตามตารางการออกเสียง ถ้าไทยภาคกลางใช้หลักที่ 3 ของแต่ละวรรค ไทยล่านนาและไตนั้น จะนิยมนำมาออกเสียงสำเนียงการพูดมาเป็นหลักที่ 1 ดังนี้ –
ค เป็น ก เช่น เค้าไม้ เป็น เก้าไม้, คิดเป็นกึด, ควายเป็นกวาย
ช " จ เช่น ช้าง เป็น จ้าง, เชื้อชาติ เป็น เจื้อจ้าด
ท " ต เช่น เทวทัด เป็น เตวตัด, ทาง เป็น ตาง.แท้ๆ เป็น แต้ๆ ไท เป็น ไต
พ " ป เช่น พ่อแม่พี่น้อง เป็น ป้อแม่ปี้น้อง. แพะ เป็น แปะ, พัน เป็น ปัน

ฉะนั้น ดังตารางหลักภาษาศาสตร์ เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต นิยมภาษา ใช้หลักที่ 3 มาเป็นหลักที่ 1 ของไทยภาคกลาง กล่าวคื นิยม ท.ทหาร มาเป็น ต.เต่า ในสรรค ตะ แล้ว เช่นคำว่า เทียน ก็เป็นเตียน, คำว่า ท่าน้ำ เป็น ต้าน้ำ ฉะนั้นคำว่า ไทยนั้น เมื่อไทยตอนเหนือหรือไต จะเรียกตัวเองว่า "ไท" จึงออกสำเนียงเป็น "ไต" นั้นเอง
1.1 ภาษาไทยล้านนาและไตออกเสียง ร.เรีอ เป็น ฮ.นกฮูก เช่น รัก เป็น ฮัก. เรีอ เป็น เฮือ,
เชียงราย เป็น เจียงฮาย เป็นต้น
1.2 ภาษาไทยล้านนาและไต จะไม่ออกเสียงควบ ร และ ล ถ้าพยัญชนะไทยกลางออดควบ ล เช่น ปลา ก็ไม่ออกเสียง ล.ลิง จะออก เป็น ป๋า เท่านั้น
1.3 ภาษาไต ออกเสียง ด.เด็ก เป็น ล.ลิง เช่น ดอย จะเป็น หลอย, ดาว จะเป็น หลาว

2. การออกเสียง สระ
2.1 ภาษาไต ออกเสียงเปิดปากปานกลาง เช่น ออกเสียง เอีย เป็น เอ, เมีย เป็น เม, และเสียง เอือ ก็จะเป็น เออ, เช่น เมือง เป็น เมิง, สระอัว (อู+อา) เป็น โอ เช่น วัว เป็น โว
2.2 ภาษาไตเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบ สระ (อา+อึ) เป็น ใอ หรือ ไม้ม้วน (-ใ) เช่น ใจ จะออกเสียง เป็น ใจ๋(จะ+อึ), ไหญ่ เป็น ใหญ่(ญะอึ) สำเนียงนี้ไทยกลางไม่มี จึงออกเสียงได้ลำบาก
3. การกลายเสียงวรรณยุกต์
3.1 วรรณยุกต์ในภาษาไทยล้านนาและไตนั้น เสียงสามัญ และไม้เอก จะเป็นเสียงจัตวา เช่น แบ่งปัน เป็น แบ่งปั๋น
3.2 เสียงสามัญ
เสียงสามัญ หรือเสียงปกติของไทยภาคกลางนั้น ถ้าเป็นภาษาไต หรือ ไทนล้านนา จะออกเสียงสามัญ หรือปกตอ เป็น เสียง "จัตวา"
ไทยภาคกลาง ไทยล้านนาหรือไต
กิน (เสียงสามัญ) เป็น กิ๋น (เสียงสามัญของไตและล้านนา)
หัวใจ (เสียงสามัญ) เป็น หัวใจ๋ (โหใจ๋ ) (เสียงสามัญของไตและล้านนา)

ภาษาไต คำที่ใช้เรียกสัปดาห์
วันอาทิตย์ เรียกว่า วันอาติตย์
วันจันทร์ เป็น วันจั๋น
วันอังคาร เป็น วันอังกาน
วันพุธ เป็น วันปุต
วันพฤหัสบดี เป็น วันพัต
วันศักร์ เป็น วันศุกร์(วันซูก)

เปรียบเทียบภาษาไทย กับภาษาไต คำที่ใช้เรียกเดือน

ภาษาไทย

ภาษาไต

เดือนอ้าย

เหลินเจี๋ยง

เดือนยี่

เหลินก๋ำ

เดือนสาม

เหลินสาม

เดือนสี่

เหลินสี่

เดือนห้า

เหลินห้า

เดือนหก

เหลินฮก

เดือนเจ็ด

เหลินเจ็ด

เดือนแปด

เหลินแปด

เดือนเก้า

เหลินเก้า

เดือนสิบ

เหลินสิบ(ซีบ)

เดือนสิบเอ็ด

เหลินสิบเอ็ด (ซีบเอ๊ด)

เดือนสิบสอง

เหลินสิบสอง(ซีบสอง)

ความจริงเรื่องคนไตหรือไทใหญ่ The Real Tai People

ชนชาติไต หรือ ฉาน ซึ่งเรียกตัวเองว่า "คนไต"(Tai) หรือคนไทยเรียกว่า "ไทยใหญ่" (Thaiyai) หรือคนเมืองเรียกว่า "เงี้ยว" (คำว่า"เงี้ยว"นี้สันนิษฐานว่า หมายถึงชนชาติที่เคยอาศัยอยู่ที่นครเงี้ยว ในยุคอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งมีเมืองหรือ นครใหญ่ๆ อยู่ 3 นคร คือนครลุง นครปา และนครเงี้ยว) หรือพม่าเรียกว่า "ซาน" (Shan) และคำว่า ฉาน ก็ คือคำว่า สยาม(Siam) ที่คนไทยเรียกตนเองในอดีดว่า "ชาวสยาม" นั้นเอง ส่วนคำว่า "ไต" นั้นเป็นสำเนียงที่ไทใหญ่ที่จะเรียกตนเองว่า "ไท" แต่มีการออกเสียงสำเนียงเป็น "ไต" เพราะคนไทยทางภาคเหนือและคนไต (ไม่ว่าไตในรัฐอัสสัม (Assam State-Tai Ahom, Tai Phake) ในประเทศอินเดีย หรือไตในสิบสองปันนา หรือไตใต้คงในประเทศจีน หรือไตในเมืองไต รัฐฉาน) จะนิยมออกเสียงตามอักษรศาสตร์ คือนิยมใช้สำเนียงอักษร ท.ทหาร มาเป็น ต.เต่า ทุกครั้ง เช่นคำว่า "เทียน" ก็จะออกเสียงเป็น "เตียน" คำว่าทองเหลืองก็จะออกเปน ตองเหลือง, คำว่าเทวทัต ก็เป็น เตวตัต คำว่า ทาง ก็จะเป็น ตาง เป็นต้น ด้วยสำเนียงเสียงอักษรนิยมดังกล่าว เมื่อคนไทใหญ่จะพูดว่าตนเองเป็น"ไทย" จึงออกสำเนียงเป็น "ไต" นั้นเอง เพราะฉะนั้น คำว่า "ไต" และ "ไท" ก็คือศัพท์คำเดียวกันนั่นเอง
ชนชาติไตนั้น เมื่อได้อพยพถอยร่นลงมาจากอาณาจักรไตน่านเจ้าหรือล้านเจ้า ก็มาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำคง หรือแม่น้ำสาลวิน (Salween)ในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนส่วนใหญ่ของคนไตนั้น อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสาลวิน ทิศตะวันตกมีดินแดนติดกับพม่า ทิศตะวันออกมีดินแดนติดกับมลฑลยูนานของประเทศจีน และทิศใต้มีดินแดนติดกับประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำอิระวดีตอนบน(Irrawaddy)ลุ่มแม่น้ำมาว(Shweli-Nam Mao) เป็นต้น ในยุคที่อพยพมาจากอาณาจักรน่านเจ้านั้น ประเทศต่างยังไม่ได้แบ่งเขตแดนชัดเจนดั่งเช่นปัจจุบันนี้ เมืองต่างๆ ในรัฐฉานหรือประเทศไตในยุคนั้น ต่างก็ปกครองกันอย่างอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร ดังนั้นจึงมีเจ้าครองเมืองเป็นจำนวนมาก ที่เรียกกันว่า เจ้าเมืองบ้าง เจ้าฟ้าบ้าง ขุนเมืองบ้าง (กษัตริย์ เรียกว่า ขุนหอคำ) พญาบ้าง ด้วยหตุที่ต่างๆมีอำนาจปกครอง ตนเอง และไม่มีเจ้าเมืองเมืองไหนที่มีอำนาจบารมีพอที่จะรวบรวมเมืองต่างๆ ผนวกเข้าให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันได้ หลังจาก อาณาจักรเมืองมาวหลวง (Mao Kingdom)(ค.ศ. 1311-1405 ) ล่มสลาย คนไตจึงมีการรบกันเองบ้าง รบกับพม่าบ้าง เพื่อแย่งดินแดนและแย่งกันเป็นใหญ่ตามเมืองต่างๆ บางครั้งก็คนไตได้ปกครองบ้าง เช่นเมืองอังวะหรือ อาวะ(Ava) ราชวงศ์สามพี่น้องซึ่งเป็นคนไตเคยปกครองมาในศตววษที่ 13 และ14 เมื่อพม่าเรีองอำนาจก็สามารถยึดเมืองต่างๆไว้ในครอบครองของพม่าได้ ด้วยเหตุนี้ คนไตจึงอยู่ใต้การปกครองของพม่า จนกระทั่งถึงยุคอาณานิคมอังกฤษ

------------------------
ฉาน = ซาน = สยาม = Shan or Siam
ไต = ไท =(ไทย) = Tai or Thai
รัฐฉาน = เมืองไต = Mong tai or Shan State
แม่น้ำคง = แม่น้ำสาลวิน = Nam Khong or Salween River
แม่น้ำเกี๋ยว = แม่น้ำอิระวดี = Irrawaddy or Ayeyarwady
แม่น้ำมาว = Nam Mao or Shweli
เมืองอังวะ หรืออาวะ = Ava or Innwa
เมืองมาว = Mao Kingdom
ขุนหอคำ = กษัตริย์ = King
รัฐอัสสัม = Assam State (The Tai Ahom Kingdom of Assam)